ค่ายบางกุ้ง
ค่ายบางกุ้ง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีชื่อปรากฎอยู่ในพงศาวดารชาติไทย และชื่อเสียงจังหวัดสมุทรสงครามน้้นก็สืบเนื่องมากจากค่ายบางกุ้งนี้ จึงสมควรเล่าเรื่องค่ายบางกุ้งไว้ให้ปรากฎเพื่อเตือนความทรงจำของชาวสมุทรสงครามต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน
เมื่อพ.ศ. ๒๓๑๐ ในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา พม่ายกกองทัพมารุกรานบ้านเมืองไทย สมัยน้ันพระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าให้เกณฑ์กองทัพพล ๒๕,๐๐๐ คน ยกเข้าตีเมืองไทยสองทาง ให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพยกเข้าตีทางใต้ ให้เนเมียวสีหบดียกเข้ามาตีทางเหนือ ให้ตีบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศึกขนาบสองด้าน กองทัพของเนเมียวสีหบดีเข้าตีเมืองเชียงใหม่ เมืองกำแพงเพชรจนแตก แล้วต้ังค่ายมั่นต่อเรือสะสมเสบียงอาหารอยู่ ฝ่ายกองทัพมังมหานรธาเข้าตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี ซึ่งเป็นของไทยแตกทั้งสองเมือง หุยจองกา เจ้าเมืองหนีไปอยู่ชุมพร พม่าก็ยกกองทัพติดตามมาตีเมืองชุมพรแตก เผาเมืองชุมพรเสียแล้วยกกองทัพเข้ามาตีกองทัพของพระพิเรนทรเทพที่ตั้งค่ายอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีแตกอีก แล้วยกเข้ามาตีเมืองราชบุรี เพชรบุรีแตกทั้งสองเมือง แล้วยกกองทัพกลับไปต้ังกองทัพต่อเรือสะสมเสบียงอาหารอยู่ที่ดงรังหนองขาวเมืองกาญจนบุรี
พระเจ้าเอกทัศน์ทรงทราบข่าวศึก จึงโปรดให้เกณฑ์กองทัพออกต่อสู้ ให้กองทัพบกยกไปตั้งค่ายรับข้าศึกอยู่ที่ตำบลบางตำหรุ เมืองราชบุรีแห่งหนึ่ง ให้กองทัพเรือยกมาต้ังค่ายอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง เมืองสมุทรสงครามแห่งหนึ่ง ให้พระยารัตนาธิเบศร์ยกทัพเมืองนครราชสีมามาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองธนบุรีแห่งหนึ่ง ให้พระยายมราชยกกองทัพมาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองนนทบุรีแห่งหนึ่ง
คร้ันพ.ศ.๒๓๐๘ ทัพมังมหานรธาก็ยกทัพเรือเข้าตีค่ายทหารบกที่บางบำหรุแตก ยกเข้ามาตีค่ายทหารเรือที่ค่ายบางกุ้งแตก แล้วยกไปตีเมืองธนบุรี พระยารัตนาธิเบศร์ก็ยกทัพหนี พม่าก็ยกทัพไปตีเมืองนนทบุรีแตกอีกแล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ด้านหนึ่ง กองทัพดของเนเมียวสีหบดีก็ยกทัพเข้ามาตีเมืองพิษณุโลก เมืองนครสวรรค์แตกแล้วยกทัพเรื่อยเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้อีกด้านหนึ่ง จนกระทั่งกรงศรีอยุธยาแตกเมื่อพ.ศ.๒๓๑๐ แล้วตั้งให้นายทองอินทร์คนไทยทึ่จงรักภักดีอยู่กับพม่าเป็นสุกี้นายกองคุมกองทัพรักษากรุงศรีอยุธยาไว้ ต้ังให้นายบุญส่งคุมค่ายเมืองธนบุรีไว้ แล้วยกทัพหลวงกลับไป
ในพ.ศ.๒๓๑๐ นั้นเอง พระเจ้าตากสินได้ถูกเรียกตัวเข้าช่วยราชการในกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อเห็นแม่ทัพไทยฝีมือไม่เข้มแข็ง ทหารไทยแตกความสามัคคีกัน เห็นจะสู้พม่าไม่ได้ จึงพาทหารประมาณ ๕๐๐ คนตีฝ่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาได้ พม่ายกติดตามไปก็ถูกพระเจ้าตากสินตีแตกกลับมาถึงสองครั้งสองครา พระเจ้าตากสินได้ไปตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองชลบุรี พระยาจันทบุรีไม่ยอมอ่อนน้อม จึงยกทัพเข้าตีเมืองจันทบุรีแตกแล้วต้ังกองสะสมเสบียงอาหารต่อเรือรบที่เมืองจันทบุรี เมื่อเห็นว่าได้มากเพียงพอแล้วก็ยกทัพเรือเข้ามาตีเมืองธนบุรีแตก แล้วก๊กสุกี้นายกองที่รักษาอยู่ที่กรุงเก่าแตกพ่ายไป พระเจ้าตากสินกู้กรุงศรีอยุธยาคืนมาได้ แล้วยกมาตั้งกรุงธนบุรีขึ้นใหม่ในปีพ.ศ.๒๓๑๑ เมื่อตั้งกรุงธนบุรีขึ้นแล้วก็โปรดให้พวกคนจีนในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ราชบุรี กาญจนบุรี รวบรวมกำลังกันต้ังเป็นกองทัพรักษาค่ายบางกุ้งไว้ จึงเรียกว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง"
ในปีพ.ศ.๒๓๑๑ ปีเดียวกัน พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าให้แมงกี้มารหยาเจ้าเมืองทวาย ยกกองทัพเข้ามาสืบข่าวศึกในเมืองไทยว่าสงบราบคาบดีหรือกำเริบขึ้นประการใด แมงกี้มารหยาคุมพล ๒๐,๐๐๐ คนยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เมืองกาญจนบุรี แล้วยกเข้ามาตั้งพักพลสะสมเสบียงอาหารอยู่ที่ไทรโยคเมืองกาญจนบุรี แล้วส่งโปมังเป็นกองทัพคุมพล ๒,๐๐๐ คนเศษยกล่วงหน้ามาล้อมค่ายจีนบางกุ้งไว้ ทหารจึนค่ายบางกุ้งพยายามต่อสู้ แต่สู้ไม่ได้เพราะมีกำลังน้อยกว่า นอกจากน้ันยังถูกกองทัพพม่าล้อมไว้ทำให้ขาดแคลนเสบียงอาหาร ค่ายจีนบางกุ้งจวนจะแตกอยู่แล้ว คณะกรรมการเมืองสมุทรสงครามสมัยน้ันจึงมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรี
คร้ันพระเจ้าตากสินทรงทราบก็มีพระทัยยินดีประดุจได้ลาภอันวิเศษกว่าลาภทั้งปวง ด้วยมีพระราชหฤทัยหนักหน่วงในอันทีจะปลุกใจคนไทยมิให้คร้ามเกรงพม่าอีกต่อไป จึงโปรดให้จัดกองทัพเรือ ๒๐ ลำเศษ ให้มหามนตรี (บุญมา) เป็นกองหน้า พระเจ้าตากสินเสด็จคุมทัพเรือมาด้วยตนเอง เสด็จโดยเรือพระที่นั่งสุวรรณมหาพิชัยนาวา เรือยาว ๑๑ วา ปากเรือกว้าง ๓ ศอก พลกรรเชียง ๒๘ คน เสด็จโดยด่วนมาในคืนน้ัน พงศาวดารกล่าวว่า "ดุจพระยาชวันหงษ์ อันนำหน้าสุวรรณหงษ์ทั่้งปวง" คร้ันรุ่งเช้าก็ถึงเมืองสมุทรสงคราม ทอดพระเนตรเห็นทัพเรือพม่าเข้าล้อมค่ายจีนบางกุ้งอยู่ก็โปรดสั่งให้ทหารเรือไทยเข้าโจมตีทันที ทหารไทยยิงปืนมณฑกนกสับคาบศิลา รุกไล่ฆ่าฟันทหารพม่าแตกตื่นตกใจหนีพ่ายไปในเพลาเดียว ทหารไทยฆ่าฟันทหารพม่าล้มตายไปเป็นอันมาก ที่หลบหนีไปได้นั้นน้อยนัก เก็บเรือรบ เรือไล่ เครื่องศัตราวุธของพม่าได้เป็นจำนวนมาก พระเกียรติยศของพระเจ้าตากสินก็ลือชาปราฎขจรขจายไปทุกทิศ เป็นที่คร้ามเกรงแก่ปัจจามิตร เปรียบดั่งพระยาไกรสรราชสีห์อันมีฤทธิ์เป็นที่คร้ามเกรงแก่หมู่สัตว์จตุบาททั้งปวง นับแต่น้ันเป็นต้นมาก็ไม่ปรากฎว่ามีข้าศึกล่วงล้ำเข้ามาล่วงเกินเมืองสมุทรสงครามอีกเลย เมืองสมุทรสงครามก็ร่มเย็นเป็นสุขสืบมาเป็นเวลาช้านาน
พระมหามนตรี (บุญมา) นายกองหน้าที่มาตีพม่าที่ค่ายบางกุ้ง เมื่อพ.ศ.๒๓๑๑ นั้น เป็นพระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เลื่อนยศเป็นพระยาอนุชิตราชา พระยายมราช เจ้าพระยายมราช และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชตามลำดับ ในแผ่นดินพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เป็นพระมหาอุปราชทรงพระนามว่่า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพที่เข้มแข็งมีฝืมือในการศึกสงครามมาก นับว่าเป็นวีรบุรุษคนสำคัญยิ่งของชาติไทยผู่หนึ่ง ที่ได้เป็นกำลังกู้ชาติบ้านเมืองไว้ มีพระเกียรติยศปรากฎอยู่ทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงเทพ ฯ พระองค์ท่านประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๒๘๖ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศฐ์ สวรรคตเมื่อพ.ศ.๒๓๔๖ ในแผ่นดินพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระชนมายุ ๖๐ พรรษา มีพระโอรสธิดา ๔๓ พระองค์ มีราชสกุลสืบต่อมา ๔ สกุล คือ อสุนี ณ อยุธยา, โตษะนีย์ ณ อยุธยา, นีรสิงห์ ณ อยุธยา, ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา
เมื่อพ.ศ. ๒๓๑๗ พม่ายกทัพเข้ามาตั้งอยู่ที่ค่ายบางแก้ว ราชบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จกรีฑาทัพเรือไปรบพม่าที่ราชบุรี โดยทางชลมารคผ่านเมืองสมุทรสงครามอีกครั้งหนึ่ง เสด็จโดยเรือพระที่นั่งกราบยาว ๑๓ วา ปากเรือกว้าง ๓ ศอกเศษ พลพาย ๔๐ คน ไพร่พล ๘๘๖๓ คน ปืนใหญ่น้อย ๒๗๗ กระบอก ถึงเมืองแม่กลองก็หยุดพักพลที่ค่ายแม่กลอง แล้วเสด็จยกทัพไปหยุดพักเสวยพระกระยาหารที่ค่ายบางกุ้ง เมื่อวันจันทร์เดือน ๓ แรม ๑๒ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๗ แล้วเสด็จยกทัพไปในวันน้้น
พระเจ้าตากสินมหาราชนั้น นับเป็นมหาวีรบุรุษของชาติไทย ในฐานะที่พระองค์ได้กู้ชาติบ้านเมืองของไทยไว้ เป็นบุญของชาติไทยที่เทพยดาฟ้าดินได้กำหนดให้พระองค์ท่านเสด็จมาอุบัติในชาติไทย ด้วยพระบุญญาธิการที่ได้สั่งสมมาแต่อดีตชาติ ได้ส่งเสริมให้พระองค์ท่านรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากเมื่อพระชนมายุ ๒๕ ปี ได้เลื่อนเป็นพระยาตากเมื่อพระชนมายุ ๓๐ ปี ได้เลื่อนเป็นพระยาวชิรปราการเมื่อพระชนมายุ ๓๑ ปี ได้ไปตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองจันทบุรีเมื่อพระชนมายุ ๓๒ ปี และกู้กรุงศรีอยุธยาคืนได้ภายในปีเดียว ปราบดาภิเศกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อพระชนมายุ ๓๓ ปี สมกับคำที่ว่า "กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี" พระองค์ท่านมีบุญคุณแก่ไทยอย่างล้นเหลือ ยากที่จะหาสิ่งใดตอบแทนได้ นอกจากคำเทิดทูนว่า "เป็นมหาวีรบุรุษผู้กู้ชาติ เป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่"
ค่ายบางกุ้ง เป็นอนุสรณ์สถานที่ชวนให้น้อมใจรำลึกถึงพระเจ้าตากสินมหาราช เพราะเหตุที่พระองค์ท่านได้เสด็จกรีฑาทัพมาเผด็จศึกพม่าที่ค่ายนี้ เมื่อพ.ศ. ๒๓๑๑ ค่ายทหารแห่งนี้มีเกียรติศักดิ์ทหารไทยในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชฝากไว้เป็นอนุสรณ์ในชัยชนะที่ภาคภูมิใจแห่งหนึ่ง ควรที่จะเป็นอนุสรณ์สถานที่เตือนใจลูกหลานไทยไปชั่วกาลนาน
พระมหามนตรี (บุญมา) นายกองหน้าที่มาตีพม่าที่ค่ายบางกุ้ง เมื่อพ.ศ.๒๓๑๑ นั้น เป็นพระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เลื่อนยศเป็นพระยาอนุชิตราชา พระยายมราช เจ้าพระยายมราช และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชตามลำดับ ในแผ่นดินพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เป็นพระมหาอุปราชทรงพระนามว่่า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพที่เข้มแข็งมีฝืมือในการศึกสงครามมาก นับว่าเป็นวีรบุรุษคนสำคัญยิ่งของชาติไทยผู่หนึ่ง ที่ได้เป็นกำลังกู้ชาติบ้านเมืองไว้ มีพระเกียรติยศปรากฎอยู่ทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงเทพ ฯ พระองค์ท่านประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๒๘๖ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศฐ์ สวรรคตเมื่อพ.ศ.๒๓๔๖ ในแผ่นดินพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระชนมายุ ๖๐ พรรษา มีพระโอรสธิดา ๔๓ พระองค์ มีราชสกุลสืบต่อมา ๔ สกุล คือ อสุนี ณ อยุธยา, โตษะนีย์ ณ อยุธยา, นีรสิงห์ ณ อยุธยา, ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา
เมื่อพ.ศ. ๒๓๑๗ พม่ายกทัพเข้ามาตั้งอยู่ที่ค่ายบางแก้ว ราชบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จกรีฑาทัพเรือไปรบพม่าที่ราชบุรี โดยทางชลมารคผ่านเมืองสมุทรสงครามอีกครั้งหนึ่ง เสด็จโดยเรือพระที่นั่งกราบยาว ๑๓ วา ปากเรือกว้าง ๓ ศอกเศษ พลพาย ๔๐ คน ไพร่พล ๘๘๖๓ คน ปืนใหญ่น้อย ๒๗๗ กระบอก ถึงเมืองแม่กลองก็หยุดพักพลที่ค่ายแม่กลอง แล้วเสด็จยกทัพไปหยุดพักเสวยพระกระยาหารที่ค่ายบางกุ้ง เมื่อวันจันทร์เดือน ๓ แรม ๑๒ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๗ แล้วเสด็จยกทัพไปในวันน้้น
พระเจ้าตากสินมหาราชนั้น นับเป็นมหาวีรบุรุษของชาติไทย ในฐานะที่พระองค์ได้กู้ชาติบ้านเมืองของไทยไว้ เป็นบุญของชาติไทยที่เทพยดาฟ้าดินได้กำหนดให้พระองค์ท่านเสด็จมาอุบัติในชาติไทย ด้วยพระบุญญาธิการที่ได้สั่งสมมาแต่อดีตชาติ ได้ส่งเสริมให้พระองค์ท่านรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากเมื่อพระชนมายุ ๒๕ ปี ได้เลื่อนเป็นพระยาตากเมื่อพระชนมายุ ๓๐ ปี ได้เลื่อนเป็นพระยาวชิรปราการเมื่อพระชนมายุ ๓๑ ปี ได้ไปตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองจันทบุรีเมื่อพระชนมายุ ๓๒ ปี และกู้กรุงศรีอยุธยาคืนได้ภายในปีเดียว ปราบดาภิเศกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อพระชนมายุ ๓๓ ปี สมกับคำที่ว่า "กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี" พระองค์ท่านมีบุญคุณแก่ไทยอย่างล้นเหลือ ยากที่จะหาสิ่งใดตอบแทนได้ นอกจากคำเทิดทูนว่า "เป็นมหาวีรบุรุษผู้กู้ชาติ เป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่"
ค่ายบางกุ้ง เป็นอนุสรณ์สถานที่ชวนให้น้อมใจรำลึกถึงพระเจ้าตากสินมหาราช เพราะเหตุที่พระองค์ท่านได้เสด็จกรีฑาทัพมาเผด็จศึกพม่าที่ค่ายนี้ เมื่อพ.ศ. ๒๓๑๑ ค่ายทหารแห่งนี้มีเกียรติศักดิ์ทหารไทยในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชฝากไว้เป็นอนุสรณ์ในชัยชนะที่ภาคภูมิใจแห่งหนึ่ง ควรที่จะเป็นอนุสรณ์สถานที่เตือนใจลูกหลานไทยไปชั่วกาลนาน
(โปรดติดตามตอนตอไป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น